ประวัติความเป็นมาของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มเมื่อประมาณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2538 นายทองมา แก้วคง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ป่าช้าบ้านดอนบม ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ในขณะนั้นประมาณ 89 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในสมัยของ ผศ.ประสงค์ สุรียธนาภาส ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ซึ่งอธิการบดีได้มีคำสั่งให้อาจารย์ประจวบ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และอาจารย์พยุง สหะชาติ ทำการตรวจสอบและศึกษาสถานที่
ในการตรวจสอบและศึกษาสถานที่ครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รู้แนวเขตและสภาพพื้นที่ โดยได้ดำเนินการเมื่อประมาณวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากนายประยูร อุปฮาต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 (ในสมัยนั้น) ร่วมด้วยนายทองมา แก้วคง, นายอิน แก้วดอนหัน และชาวบ้านประมาณ 10 คน ซึ่งสภาพพื้นที่ในขณะนั้นมีสภาพเป็นป่ารกทึบ และคณะผู้ศึกษาได้นำเสนอรายงานให้อธิการบดีรับทราบ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่จะพัฒนาต่อไป
ประมาณวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2538 อธิการบดีได้มีคำสั่งให้อาจารย์พยุง สหะชาติ จ้างเหมารถแทรกเตอร์เพื่อทำการปรับพื้นที่บริเวณนี้ โดยดำเนินการแล้วเสร็จในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ภายหลังจากนั้นอาจารย์สมภพ เพชรดีและอาจารย์พยุง สหะชาติ ได้ทำการสำรวจรังวัดเขียนแผนผังบริเวณแสดงค่าความสูง-ต่ำของพื้นที่เพื่อทำผังแม่บทและผังภูมิสถาปัตย์ สำหรับผังแม่บทได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาคและคณะฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในขณะเดียวกันทางสถาบันได้ดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่จากกระทรวงมหาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (ในสมัยนั้น) แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติในขณะนั้น
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2544 รศ.ดร.บุญช่วย ศิริเกษ ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในขณะนั้น ได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 5 ห้องเรียน มีความกว้าง 10 เมตร ความยาว 50 เมตร จำนวน 2 หลัง ราคารวม 1,370,004 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเจ็ดหมื่นสี่บาทถ้วน) ทำแนวถนนเข้าสู่อาคารเรียนชั่วคราว ขนาดถนนกว้าง 8, 12 และ 30 เมตร ความยาวรวม 640.50 เมตร และได้ทำการปรับพื้นที่บริเวณเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ การทำแนวถนนและการปรับพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์เครื่องจักรกลจาก ร.พ.ช.จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันคือ ทางหลวงชนบท) ในปี พ.ศ. 2549 สร้างอาคารเพิ่มเติมจำนวน 1 หลังเป็นอาคารชั้นเดียว จำนวน 3 ห้องเรียน
ในการขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์จากกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสถาบัน โดยนายธนกร ศิลปะรายะ นายกองค์การนักศึกษา กศ.บป. ศูนย์ขอนแก่น และนายชูชัย อุดมพุทธชาด ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการอนุมัติในสมัย ผศ.ดร.ประจวบ สุขสมบูรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ยกฐานะเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2547 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ในการขออนุญาตใช้พื้นที่ที่ดินผืนนี้รวมแล้วเป็นระยะเวลาเกือบ 9 ปีเต็ม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจะได้ใช้พื้นที่ดินผืนนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่อไป
ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้จัดตั้ง ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยตามความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเริ่มรับนักศึกษาภาคปกติ คณะครุศาสตร์ 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาภาษอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2553 สร้างอาคารเรียนรวม จำนวน 1 หลัง และในปี พ.ศ. 2558 ได้สร้างอาคารเรียนรวมเพิ่มอีก 1 หลังโดยใช้งบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย ในการรับรองการขยายตัวและการกระจายโอกาสทางการศึกษาตอบสนองความต้องการของประชนที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจังหวัดขอนแก่นที่เพิ่มขึ้น
ตำแหน่งรักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
มีดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2552-2552
1.นายเมธาคุณ พฤกษา ดำรงตำแหน่งรักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2.นายรังสี ศศิสุวรรณพงศ์ ดำรงตำแหน่งรักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2552 – 2554
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขุม พรมเมืองคุณ ดำรงตำแหน่งรักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2.นายรังสี ศศิสุวรรณพงศ์ ดำรงตำแหน่งรักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2554 – 2556
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเสริฐ ทองดอนบม รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี รักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2554 – 2556
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเสริฐ ทองดอนบม รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี รักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2557 – 2560
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ทองดอนบม รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี รักษาราชการรองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2560 – 2560
1.รองศาสตราจารย์กฤษณา มาร์เชิร์ท ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ทองดอนบม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2560 – 2560
1.รองศาสตราจารย์กฤษณา มาร์เชิร์ท ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ทองดอนบม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2561
1. ดร.จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ทองดอนบม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564
ดร.จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2564 – (ปัจจุบัน)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพวรรณ ดวงหัสดี ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2565 ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ได้เปิดสอนปริญญาตรีภาคปกติและภาค จำนวนทั้งหมด 3 คณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 8 สาขาวิชาคือ สาธารณสุขศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การท่องเที่ยวและการโรงแรม รัฐประศาสนศาสตร นิติศาสตร์ การจัดการ การบัญชี การตลาดดิจิทัล คอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัลและการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีจำนวนนักศึกษา รวมทั้งหมด – คน
แผนยุทธศาสตร์ของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
ปรัชญา
อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่สากล
พันธกิจ
1.ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรู้และผูกพันต่อท้องถิ่น น้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.พัฒนาการวิจัยที่มีคุณภาพ และบูรณาการวิจัยสู่การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล
3.เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
4.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และ ความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชน และท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
5.เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
6.ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาค
7.ศึกษา วิจัย หาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน ภูมิปัญหาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นและภูมิภาค
8.ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของ มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
9.พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพคล่องตัว ตามแนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
วัตถุประสงค์
ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น มุ่งเน้นในการดำเนินงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
- เพื่อส่งเสริมและสร้างสรรค์วัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพขององค์กรโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร
- เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบ แนวทางและวิธีการที่สำนักงานศูนย์การศึกษามาหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น กำหนดและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของศูนย์ ฯ
- เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จและสาเหตุของปัญหา
- เพื่อส่งเสริมให้สถาบันมีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการปฏิบัติภารกิจของบุคลากรอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องจะนำไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มพูนมาตรฐานด้านคุณภาพของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย
- เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
โครงสร้างการบริหารงาน ในศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น
บุคลากร จำแนกรายบุคคลตามตำแหน่งและความรับผิดชอบ ในกรณีของหน่วยงานจัดการศึกษา (คณะ/ภาควิชา/โปรแกรมวิชา/หลักสูตร) ระบุแสดงศักยภาพของบุคลากร เช่น วุฒิการศึกษา การเข้ารับการอบรม การศึกษาดูงาน การวิจัย เป็นต้น
ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจังหวัดขอนแก่น มีบุคลากรประจำศูนย์ฯ สายสนับสนุน จำนวน 10 คน ปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์การศึกษาฯ ในภาคปกติ โดยมีผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชา
ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนจำแนกตามส่วนงาน
–